วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550



1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ


-รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ.             2549-2550       ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลรวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายกฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศการคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภคการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบอาชีพการคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมสวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงานรวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง


       1. มีเสรีภาพทางวิชาการในการจัดการเรียนการสอน และการเผยแพร่ผลงานวิจัย
มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชนการผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรหรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้
มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

     2. การจัดการศึกษาของสถานศึกษาทุกแห่ง ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการลงโทษที่โหดร้ายรุนแรงจะกระทํามิได้
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้
มาตรา ๓๑ บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง


1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
ตอบ การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
ตอบ 24 สิงหาคม 2550
3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
ตอบ ฉบับที่ 17
4. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
ตอบ 15 หมวด 309 มาตรา
5. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
ตอบ 19 คน
6. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
ตอบ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทแห่งรัฐธรรมนูญนี้
7. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
ตอบ 12 ปี
8. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรประเภทใด
ตอบ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
9. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ตอบ 480 คนแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
10. ห้ามการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ในช่วงเวลา
ตอบ ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย


-เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นเป็นประเด็นที่เราคนไทยทุกคนควรรู้เอาไว้ เพราะมันเป็นเรื่องความเสมอและกฏหมายบ้านเมืองของเราที่เราคนไทยควรรู้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะมีมาตราต่างๆ กำหนดเอาไว้ และมันเป็นประโยชน์ต่อเรา เพื่อไม่ให้โดนเอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล การที่เราต้องรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยนั้นจะส่งผลดีให้แก่เรา เพื่อเราได้รู้ถึงกฏหมายและสิทธิเสรีภาพที่เราควรได้รับ และเพื่อสามารถเป็นกฏระเบียบให้แก่คนไทยทุกคนได้ปฏิบัติตามโดยพร้อมเพียงกัน

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข


-การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2550 เป็นการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง เป็นผู้สนับสนุน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อตนเอง และเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ซึ่งรัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งใน สังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น แต่เราก็มิอาจที่จะปฏิเสธได้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมเลย ทั้งนี้ เห็นได้จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศ หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทาง การเมืองการปกครองดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Design) จึงมีความสำคัญยิ่ง
กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว


-โดยทั้ง 3อำนาจนั้นมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งจะเป็นอิสระและจะถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทั้ง 3อำนาจนี้จะนำมาซี่ง ความจำเริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนคนไทย แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มีเพียงอำนาจตุลาการซึ่งใช้อำนาจในพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาถรรถคดี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภากลับ ตกเป็นเบี้ยล่างของอำนาจบริหารหรือรัฐบาลมาโดยตลอด การเสียดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารได้สร้างปัญหาทางการเมืองการ ปกครองจนเกิดวิกฤตขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า หากปล่อยให้ปัญหานี้ดำรงคงอยู่โดยไม่มีการแก้ไข การเมืองไทยก็จะล้มลุกคลุกคลานไม่มีที่สิ้นสุดและฉุดรั้งไม่ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า
เพราฉะนั้น การสร้างดุลถ่วงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารเป็นความจำเป็นที่จะต้อง ทำให้มีขึ้น หากปล่อยให้รัฐสภาตกอยู่ในภายใต้การครอบงำและแทรกแซงของรัฐบาลไป เรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาก็จะหมดความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะขัดต้อเจตจำนงของการมีรัฐสภา แล้ว ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกด้วย เพราะโดยหลักแล้ว รัฐสภาต้องควบคุม รัฐบาลให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ประชาชนก็จะเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อขับไล่เอง และในที่สุด รัฐสภาก็จะอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีแกล้งยุบสภาหรือไม่ก็ถูกทหารเข้าปฏิวัติ ยึดอำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น